Workshop#4 (บทความวารสาร)
กานต์ บุญศิริ และพจนารถ พรเจริญวิโรจน์ (2557). ภาวะผู้นำกับการเป็นนักบริหารการศึกษามืออาชีพ. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 มกราคม-เมษายน 2557, หน้า 1-16
บทคัดย่อ
ทุกหน่วยงานและองค์กรในปัจจุบันมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีนักบริหารองค์กรที่เป็นมืออาชีพ เพื่อทำหน้าที่เป็นผู้บริหารจัดการองค์กรให้มีความก้าวทันโลกในยุคปัจจุบันที่มีความเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ซึ่งเป็นผลมาจากความเจริญก้าวหน้าทางด้านต่างๆ เช่น ด้านเทคโนโลยีที่ทำให้เกิดการแพร่กระจายของข้อมูลข่าวสารทั้งภายในและภายนอกองค์กร ที่ก่อให้เกิดระบบฐานความรู้ที่ใช้ในการแข่งขัน และการร่วมมือบริหารจัดการองค์กรจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องการนักบริหารมืออาชีพเพื่อช่วยนำพาองค์กรไปสู่ความสำเร็จ ซึ่งหมายความรวมถึงการเป็นนักบริหารการศึกษาเช่นกัน การเป็นผู้บริหารการศึกษาที่ดีในปัจจุบันไม่ใช่เรื่องง่าย เนื่องจากมีแรงกดดัน และความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ มากมายที่แตกต่างไปจากการบริหารการศึกษาที่ผ่านมา การเป็นนักบริหารการศึกษาจึงจำเป็นต้องมีทั้งความรู้ด้านเทคนิคการบริหาร มีทักษะและประสบการณ์ในด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งต้องมีคุณลักษณะด้านภาวะของผู้นำที่สามารถวางแผน และมีแนวความคิดด้านการบริหารภายในองค์กรเพื่อมุ่งสู่ความสำเร็จนักบริหารการศึกษามืออาชีพ ต้องเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงคือ ต้องเป็นผู้ที่มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์เพื่อการบริหารองค์กรเกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น รวมทั้งมีโลกทัศน์ที่กว้างไกลที่เป็นพื้นฐานสำคัญที่ช่วยให้ผู้นำองค์กรมีวิสัยทัศน์ที่สามารถกำหนดภาพในอนาคตขององค์กรได้อย่างชัดเจน มีจิตวิญญาณความเป็นนักบริหาร รวมทั้งบริหารตนให้เป็นแบบอย่างที่ดี มีคุณธรรมและจริยธรรม ต้องเป็นผู้มีภูมิความรู้ทางด้านการศึกษาความเป็นผู้นำทางวิชาการ เป็นผู้นำในการบริหารคุณภาพการศึกษา และมีความรู้ในหลักการบริหาร เทคนิคการบริหาร และการวางแผนกลยุทธ์ รวมทั้งต้องรู้จักนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาใช้ในการบริหารองค์กรอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้การพัฒนาองค์กรประสบความสำเร็จและมีประสิทธิภาพ หากผู้บริหารองค์กรมีความสามารถจะส่งผลต่อคุณภาพและความสำเร็จขององค์กรนั้นๆ ผู้บริหารสถาบันการศึกษาต้องมีความเป็นนักบริหารมืออาชีพ (Professional Focus) บริหารจัดการสถาบันการศึกษาโดยใช้ทั้งศาสตร์และศิลป์ มีภาวะผู้นำสูง เป็นผู้ชี้นำทางความคิดไปสู่การปฏิบัติที่เป็นรูปธรรมอย่างแท้จริง และเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่กล้าคิด กล้านำ กล้าทำ และกล้าเปลี่ยนแปลง
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการพัฒนาผู้บริหารสถานศึกษาเพื่อส่งผลต่อความสำเร็จในการบริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา 2) สร้างคู่มือสำหรับผู้บริหารสถานศึกษาใช้ในการปฏิบัติงานการบริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ผู้ให้ข้อมูลในการวิจัย คือผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 7 คน ผู้บริหารสถานศึกษาจำนวน 44 คน และครู จำนวน 341 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยสำหรับผู้เชี่ยวชาญเป็นแบบสอบถามแบบตัวเลือกและคำาถามปลายเปิด ผู้บริหารสถานศึกษาเป็นแบบสอบถามตัวเลือก และครูเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สอบถามเกี่ยวกับภาวะผู้นำ การบริหารงบประมาณ บุคลากร วิชาการและการบริหารงานทั่วไป ผลการประเมินผู้เชี่ยวชาญทุกท่านมีความคิดเห็นว่าควรสร้างคู่มือการปฏิบัติงานการบริหารสถานศึกษาแต่ละด้านเพื่อให้ผู้บริหารสถานศึกษาใช้เป็นแนวทางในการบริหารสถานศึกษา ผู้วิจัยจึงได้จัดทำคู่มือการปฏิบัติงานการบริหารสถานศึกษา 4 ฝ่าย และเอกสารภาวะผู้นำ จำนวน 27 เล่ม นำไปทดลองใช้กับวิทยาลัยสังกัดนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา 4แห่ง ในภาคเรียนที่ 2/2553 จากนั้นผู้วิจัยดำเนินการเปรียบเทียบผลการปฏิบัติงานจากรายงานการประเมินตนเอง ระหว่างก่อนและหลังการทดลองใช้คู่มือการปฏิบัติงานการบริหารสถานศึกษา พิจารณาผลการปฏิบัติงานจากตัวบ่งชี้ตามเกณฑ์การประกันคุณภาพภายใน พบว่าวิทยาลัยเทคนิคสุรนารี เพิ่มขึ้นร้อยละ 71.88 วิทยาลัยการอาชีพชุมพวง เพิ่มขึ้นร้อยละ 55.81 วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีนครราชสีมา เพิ่มขึ้นร้อยละ 36.36 และวิทยาลัยสารพัดช่างบุรีรัมย์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 35.09 จากการเปรียบเทียบผลการรายงานประเมินตนเองเป็นส่วนหนึ่งที่ชี้ให้เห็นประสิทธิผลของคู่มือการปฏิบัติงานการบริหารสถานศึกษาซึ่งเป็นรูปแบบการพัฒนาผู้บริหารสถานศึกษาเพื่อส่งผลต่อความสำเร็จในการบริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
นิพนธ์ บุรณจันทร์ (2558) . ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของการบริหารการศึกษาโรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชน. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ปีที่ 5 ฉบับที่ 1 ประจำเดือน มกราคม-เมษายน 2558
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของการบริหารการศึกษา (2) ประสิทธิผลของการบริหารการศึกษาโรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชน (3) แนวทางการบริหารการศึกษาเพื่อพัฒนาประสิทธิผลโรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชน กลุ่มตัวอยางในการวิจัยจํานวน 285 โรงเรียนจากโรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชน สุ่มแบบชั้นภูมิเครื่องมือในการเกบรวบรวมข้อมูลคือแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์ สหสัมพันธ์ ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า (1) ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของการบริหารการศึกษาโรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชนเป็ นปัจจัยด้านผู้บริหารโรงเรียน มีภาวะผู้นําในระดับมากที่สุดคือ การไม่ชอบการเอารัดเอาเปรียบกนในการทํางาน และ ผู้ร่วมงานสามารถเข้าพบเพื่อให้ข้อคิดเห็นโดยง่ายและสะดวก ปัจจัยความรับผิดชอบที่ตรวจสอบได้ ปฏิบัติงานในระดับมากที่สุด คือ การจัดทําแผนงาน/โครงการที่สอดคล้องกบวิสัยทัศน์ พันธกิจของโรงเรียน และการกาหนดบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบในการปฏิบัติงานที่ชัดเจน และปัจจัยด้านแรงจูงใจ คือ การให้เวลาในการรับฟังปัญหาของผู้ร่วมงานและแสดงความเข้าใจมีความสําคัญมากต่อการทํางานร่วมกน และการรู้สึกว่าโรงเรียน เป็นสถานที่ทํางาน (2) ประสิทธิผลของการบริหารการศึกษาโรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชน ทั้ง 4 ด้าน อยูในระดับมาก (3) แนวทางการบริหารการศึกษาเพื่อประสิทธิผลโรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชนพบวา ปัจจัยด้านภาวะผู้นํา ปัจจัยด้านความรับผิดชอบที่ตรวจสอบได้ และปัจจัยด้านแรงจูงใจ ปัจจัยทั้งสามส่งผลต่อประสิทธิผลของการบริหารการศึกษาของโรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชน อยางมีนัยสําคัญทางสถิติที่ 0.05
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น